โดยสำหรับ If-Clauses เราแบ่งโครงสร้างแบบพื้นฐานได้ออกเป็น 3 แบบครับ
1. แบบที่เป็นไปได้ (และมีโอกาสที่จะเป็นไปได้) จะมีโครงสร้างแบบนี้ครับ
If ประธาน + Verb ช่อง 1, ประธาน + will + Verb ช่อง 1
ตัวอย่าง: If I find her address, I will send her an invitation.
(ถ้าผมเจอที่อยู่ของเธอ ผมจะเชิญเธอ (ผู้พูดคิดว่ามีโอกาสที่จะเจอที่อยู่ของผู้หญิงคนนั้น อาจจะมีการเก็บที่อยู่นั้นอยู่ในที่ไหนซะที่อยู่แล้ว))
2. แบบที่เป็นไปไม่ได้ (หรือมีโอกาสน้อยมากที่จะเป็นไปได้)
If ประธาน + Verb ช่อง 2, ประธาน + would + Verb ช่อง 1
ตัวอย่าง: If I found her address, I would send her an invitation.
(ถ้าผมได้เจอที่อยู่ของเธอ ผมก็จะเชิญเธอ (ผู้พูดรู้สึกว่ามีโอกาสน้อยมาก ๆ ที่จะเจอที่อยู่ของผู้หญิงคนนั้น อาจจะเป็นเพื่อนในสมัยประถม ซึ่งไม่รู้ว่าป่านนี้จะไปหาที่อยู่ของเค้าจากที่ไหน))
3. แบบที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะเป็นการพูดที่อ้างอิงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต
If + ประธาน + had + Verb ช่อง 3, ประธาน + would have + Verb ช่อง 3
ตัวอย่าง: If I had found her address, I would have sent her an invitation.
(ถ้าตอนนั้นผมได้เจอที่อยู่ของเธอ ผมก็คงจะเชิญเธอ (ลองสังเกตดูนะครับ ว่าถ้าพูดอย่างนี้แปลว่า ผู้พูดมีโอกาสได้เชิญผู้หญิงคนนั้นหรือเปล่าครับ คำตอบก็คือไม่มีโอกาสได้เชิญครับ เพราะมันเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วครับ))
ลองดู VDO ข้างล่างนี้ประกอบคำอธิบายนะครับ ใน VDO ข้างล่างนี้ นอกจากจะอธิบาย If-Clauses ทั้ง 3 แบบแล้ว ยังพูดถึงข้อผิดพลาดบ่อย ๆ (Common mistakes) ที่เรามีโอกาสเจอด้วยครับ
- แบบฝึกหัดสำหรับ If-Clause แบบที่ 1 (แบบที่เป็นไปได้ (และมีโอกาสที่จะเป็นไปได้))
- แบบฝึกหัดสำหรับ If-Clause แบบที่ 2 (แบบที่เป็นไปไม่ได้ (หรือมีโอกาสน้อยมากที่จะเป็นไปได้))
- แบบฝึกหัดสำหรับ If-Clause แบบที่ 3 (แบบที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะเป็นการพูดที่อ้างอิงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต)